ตามที่ได้มีการเกริ่นถึงองค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ ที่ถูกแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ
องค์ประกอบส่วนที่ 1 : Self-awareness (ความตระหนักรู้ในตนเอง)
องค์ประกอบส่วนที่ 2 : Self-management (การควบคุมตนเอง)
องค์ประกอบส่วนที่ 3 : Social awareness (การรู้จักสังคม ความเข้าใจผู้อื่น)
องค์ประกอบส่วนที่ 4 : Relationship management (การจัดการความสัมพันธ์)
Goleman ยังได้แบ่งย่อยการพัฒนากรอบการทำงานของ EI ออกเป็น 12 อย่าง
ที่เป็นช่วยส่งเสริมองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน ซึ่งหากคุณต้องการที่จะพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
นี่คือ “ทักษะ” และ “คุณลักษณะ” ที่คุณควรจะต้องพัฒนา
องค์ประกอบส่วนที่ 1 : Self-awareness (ความตระหนักรู้ในตนเอง) สมรรถนะที่สำคัญ คือ
– ความสามารถในการรู้จักอารมณ์ของตนเองรวมถึงสาเหตุของอารมณ์นั้นๆ
องค์ประกอบส่วนที่ 2 : Self-management (การควบคุมตนเอง) สมรรถนะที่สำคัญ คือ
– การควบคุมอารมณ์ตนเอง
– ความสามารถในการปรับตัว
– ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ
– การมองโลกในเชิงบวก
องค์ประกอบส่วนที่ 3 : Social awareness (การรู้จักสังคม ความเข้าใจผู้อื่น) สมรรถนะที่สำคัญ คือ
– การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
– การรู้จักบริบทสังคมแวดล้อม
องค์ประกอบส่วนที่ 4 : Relationship management (การจัดการความสัมพันธ์) สมรรถนะที่สำคัญ คือ
– การโน้มน้าว
– การโค้ช และเมนเทอร์ (การเป็นพี่เลี้ยง)
– การจัดการความขัดแย้ง
– การทำงานร่วมกันเป็นทีม การร่วมมือกัน
– ลักษณะของผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ
ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแต่ละองค์ประกอบ ในบทความต่อไป 😊
แหล่งที่มา: Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books.Goleman, D., Boyatzis, R. & McKee, A. (2002).