ธุรกิจทุกประเภทในปัจจุบันต้องปรับตัวกันอย่างหนัก เพื่อก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและรุนแรง “การหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี”
” เพราะจะทำให้องค์กรล้าหลังและตายลงในที่สุด Netflix เป็นองค์กรชั้นนำองค์กรหนึ่งที่สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี โดยสามารถนำเสนอคอนเทนท์อันหลากหลายและตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างตรงจุด ซึ่ง เดวิด เวลส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินของ Netflix กล่าวว่า คำถามตั้งต้นเพื่อต่อยอดไปสู่ความสำเร็จคือ
ภายในอีกห้าหรือสิบปีข้างหน้า เราอยากทำธุรกิจในรูปแบบใด?
Netflix เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นจากการเป็นองค์กร Start-up องค์กรหนึ่ง ที่เน้นแนวคิดที่ว่า
หากไม่เริ่มเป็นผู้ Disrupt ในที่สุดก็จะเป็นผู้ที่ถูก Disrupt เสียเอง
นอกจากนั้น Netflix ยังได้พัฒนากลยุทธ์เรื่อยมา ซึ่งกลยุทธ์แรกเริ่มคือ…
การนำเสนอของถูก
Reed Hastings ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Netflix ใช้หลักการพื้นฐานที่ได้มาจากหนังสือกลยุทธ์ The Innovator’s Dilemma ที่เขียนโดย Clayton Christensen ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญแห่ง Harvard Business School สิ่งที่ Hastings ทำคือการให้บริการ Video-streaming ในราคาถูก โดยทำการซื้อคอนเทนท์จำพวก ภาพยนตร์ ละครซีรีส์ หรือรายการโทรทัศน์ ที่ออกฉายไปแล้วหรือเรทติ้งไม่สูงมากนักมาให้ลูกค้าได้รับชม โดยแรกเริ่มมีการคิดค่าบริการเพียงแค่ 8 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าการซื้อเคเบิลทีวีจากผู้ให้บริการเจ้าอื่นมากถึง 10 เท่า เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างความลำบากใจให้กับคู่แข่งรายใหญ่เจ้าอื่น
เมื่อ Netflix ดำเนินธุรกิจมาได้สักระยะ และเริ่มเติบโตขึ้น สิ่งที่องค์กรทำต่อมาคือ…
สร้างสรรค์คอนเทนท์ใหม่ด้วยตัวเอง
การนำเสนอคอนเทนท์เก่าไปตลอดไม่ใช่วิธีการที่ยั่งยืน ดังนั้น Netflix จึงดำเนินการเชิงรุกด้วยการผลิตคอนเทนท์ขึ้นมาด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นละครซีรีส์เรื่อง House of Cards หรือ Orange is The New Black ซึ่งสามารถเพิ่มฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้มีรายได้ถล่มทลาย จนมูลค่าในตลาดหุ้นสูงถึง 500 ดอลลาร์ต่อหุ้นในปัจจุบัน จากที่เคยราคา 32 ดอลลาร์ต่อหุ้นเมื่อปี 2556
ใช้เงินอย่างมีชั้นเชิง
Reed Hastings กล่าวไว้ว่า Netflix นั้นใช้เงินอย่างมีกลยุทธ์ เขายกตัวอย่างบริษัทที่น่าสนใจอย่าง Apple ผู้นำด้านเทคโนโลยีอันดับต้นๆ ของโลกที่เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้เงินลงทุนไปกับเทคโนโลยีต่างๆ โดยไม่เก็บเงินสดไว้เลย แต่กลับได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นนวัตกรรมมากมาย เช่นเดียวกันกับ Reed Hastings ที่มองว่า การลงทุนไปกับคอนเทนท์คุณภาพจะช่วยดึงดูดลูกค้ามากขึ้น และนำไปสู่การมีรายได้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น จนในที่สุดก็จะสามารถสร้างผลกำไรและมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี Netflix ใจป้ำมากพอที่จะลงทุนซื้อละครซีรีส์ 2 ซีซั่นจากผู้สร้างในคราวเดียว ทำให้ดึงดูดผู้สร้างคอนเทนท์ชื่อดังมาร่วมงานด้วย ผู้สร้างหลายต่อหลายคนหันมาเซ็นสัญญาร่วมงาน Netflix โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น Ryan Murphy ผู้สร้างละครซีรีส์ชื่อดังเรื่อง “American Horror Story” และ “Glee” ที่ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงกันในมูลค่าที่เป็นไปได้ว่าอาจสูงถึง 300 ล้านดอลลาร์ รวมถึง Jenji Kohan ผู้สร้าง “Orange is The New Black”
Netflix ได้กลายเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนองค์กรใหญ่ๆ หลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Comcast หรือ Charter ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการเคเบิลทีวี กลายเป็นฝ่ายที่ต้องปรับกลยุทธ์ ด้วยการเสริมบริการการเข้าถึงคอนเทนท์ของ Netflix ลงไปในเคเบิลทีวีของตนเอง เพื่อดึงดูดลูกค้า ทำให้ลูกค้าได้ดูทั้งเคเบิลทีวีและคอนเทนท์ของ Netflix
ปัจจุบัน Netflix มีผู้ใช้บริการมากกว่า 182 ล้านคน นับว่าเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านความบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จของ Netflix นั้นเกิดมาจากความไม่หยุดนิ่ง โดยปรับตัวไปตามสถานการณ์ ด้วยกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุด Netflix ถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรต่างๆ ในด้านการปรับตัว เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุคปัจจุบัน
Pingback: viagra sale women
Pingback: online slot casinos usa
Pingback: viagra 25 mg for sale
Pingback: cialis for men
Pingback: cialis 10mg preis
Pingback: cheap viagra 100mg
Pingback: meritking
Pingback: elexusbet
Pingback: eurocasino
Pingback: madridbet
Pingback: meritroyalbet
Pingback: eurocasino
Pingback: eurocasino
Pingback: online casino uk casino
Pingback: meritroyalbet
Pingback: levitra reviews
Pingback: sildenafil citrate 50mg price
Pingback: is viagra generic